เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
1 ) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว ได้แก่
บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ
มีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท
โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ
2 ) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่ บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัว
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
ซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
ลักษณะอาการ
- อาการบกพร่องทางร่างกาย
ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง
การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด
อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ
ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า
ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ
เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง
เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย
ได้แก่
3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club
Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน
อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น
วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก
แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก
และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง
เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ
เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก
หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย
ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
- ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma)
เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ
เพราะขาดอินชูลิน
4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด
ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง
เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด
เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย
ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
7. โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต
และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น