เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
- ก้าวร้าว ก่อกวน
- การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
- การปรับตัวทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การหนีโรงเรียน
- การทำลายสาธารณสมบัติ
- การลักขโมย การประทุษร้ายทางเพศ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก และกำลังได้รับความสนใจจากทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ได้แก่
1. เด็กสมาธิสั้น
2. เด็กออทิสติก
ลักษณะอาการ
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD) เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุ และระดับพัฒนาการ เป็นก่อนอายุ 7 ปี แสดงออกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จนทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการเรียน โดยมีอาการหลักอยู่ 3 อาการ คือ
1. อาการสมาธิสั้น (Inattention)
1) มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ
2) มักวอกแวกง่าย ตามสิ่งเร้าภายนอก
3) ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
4) ทำตามคำสั่งไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
5) หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม
6) ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ
7) มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
8) ทำของหายบ่อยๆ
9) มักลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ
2. อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
1) ยุกยิก ขยับตัวไปมา
2) นั่งไม่ติดที่ มักต้องลุกเดินไปมา
3) มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
4) ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้
5) เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา
6) พูดมากเกินไป
3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
1) มีความยากลำบากในการรอคอย
2) พูดโพล่งขึ้นมา ก่อนถามจบ
3) ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ในวงสนทนาหรือในการเล่น
สาเหตุ
โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เช่น dopamine, norepinephrine, serotonin ฯลฯ ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้เด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม
จากผลการศึกษาส่วนใหญ่ เชื่อว่าโรคนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กอื่นๆ ถึง 4 เท่า
นอกจากนี้ การที่ พ่อแม่ ติดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด หรือมีโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ก็เชื่อว่าเป็นสาเหตุได้เช่นกันสาเหตุต่าง ๆ ที่จะทำให้บุคคลมีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1. อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือ ความผิดปกติทางกายภาพอื่น ๆ
2. สาเหตุทางจิตวิทยา เป็นสาเหตุเฉพาะตัวบุคคล อาจไม่สามารถปรับอารมณ์และปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้
3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เช่นคนอื่น สภาพครอบครัวไม่อบอุ่น แตกแยกขาดความสุข การอบรมเลี้ยงดู ขาดการเอาใจใส่หรือรังเกียจ เด็กมีความคับข้องใจมีความเก็บกดทางอารมณ์ตั้งแต่เกิด ปล่อยให้คนอื่นดูแลทอดทิ้ง
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ( Learning Disabilities : LD)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D) หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป
สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู
ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD
มีความบกพร่องทางการพูด
มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
มีความบกพร่องทางการรับรู้
มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
มีอารมณ์ไม่คงที
โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน
ออทิสติก Autism
เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities)
เด็กพิการซ้ำซ้อน (Children with Multiple Handicaps) เด็กบกพร่องซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น ปัญญาอ่อน-ตาบอด ปัญญาอ่อน-ร่างกายพิการ หูหนวก-ตาบอด ฯลฯ
สาเหตุของความพิการซ้อน
สาเหตุมีหลายประการ บางคนบกพร่องตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุของสภาพความพิการซ้อนที่แน่ชัด
1) ก่อนคลอดอาจจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
2) ระหว่างคลอดอาจจะมีการขาดออกซิเจน
3) หลังคลอดได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ
4) สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น